วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

งานวิจัยบัญชี



                                                 งานวิจัยบัญชี


1.ผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปีต่อการลงทุน

2.การศึกษาเจตคติต่อวิชาการวิเคราะห์รายงานทางการเงินของนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

3.ความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรีื่องการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้

4.ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร



8.ผลกระทบของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ในทัศนะของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ทำบัญชีของบริษัทจำกัดในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา




วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบัญชีทั่วไป

การบัญชีทั่วไป
หรือการบัญชีการเงินนั้น มักเน้นหนักไปในการจัดหมวดหมู่ บันทึก และอธิบายรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจ ซึ่งจะแสดงผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจนั้นๆ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน การบัญชีประเภทนี้จะให้ข้อมูลแก่ฝ่ายจัดการและฝ่ายบริหารเป็นยอดรวมของต้นทุนในการผลิตและการบริการ แต่มิได้ให้ข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินงานของกิจการผลิตกรรม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการขยายการบัญชีต้นทุน แยกออกมาเป็นการบัญชีอีกสาขาหนึ่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการรวบรวม บริหาร และจัดการด้านข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าโดยตรง
การบริหารงานภายในองค์กร โดยทั่วไปแล้วแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 ระดับ ด้วยกัน คือ
1. ระดับบริหารขั้นสูง ได้แก่ ประธานกรรมการบริหาร รองประธานกรรมการบริหาร และผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ระดับนี้จะรับผิดชอบต่อฝ่ายการตลาด ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายการผลิต และฝ่ายวางแผนและควบคุม
2. ระดับการบริหารขั้นกลาง ได้แก่ ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ ผู้จัดการสาขา หรืออาจเรียกว่า หัวหน้าแผนก
3. ระดับการบริหารขั้นต้น ได้แก่ หัวหน้าคนงาน และผู้ควบคุมดูแล เป็นต้น
ฝ่ายบริหารทั้ง 3 ระดับนี้ ล้วนแล้วแต่ต้องการข้อมูลจากการบัญชีต้นทุนที่จัดทำอย่างไว้อย่างมีระบบ เพื่อใช้ข้อมูลนั้นๆ ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ 
-ลักษณะทั่วไปของการบัญชีต้นทุน
         “การบัญชีต้นทุน” หมายถึง การบัญชีที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ สะสม รวบรวม จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล ด้านต้นทุน ทั้งที่เกิดขึ้นในอดีต ตลอดไปจนถึงการประมาณการหรือพยากรณ์ต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อ
----------1. ใช้ในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์
----------2. ใช้ในการวัดผลกำไรขาดทุนประจำงวด
----------3. ใช้ในการวางแผนและควบคุม
----------4. ใช้ในการกำหนดราคาขายสินค้า
----------5. ใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ
----------6. ใช้ในการประเมินผลการใช้ทรัพยากรต่างๆ 
----------จากความหมายและวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า การบัญชีต้นทุน เป็นการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ ฐานข้อมูลด้านต้นทุน (Cost database) ที่สนับสนุนทั้งบัญชีบริหารและบัญชีการเงิน คือ ข้อมูลด้านต้นทุนจำเป็นทั้งต่อการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอบุคคลภายนอก และจำเป็นต่อการนำข้อมูลไปใช้ในด้านการบริหารงาน ดังรูปภาพต่อไปนี้
----------หน้าที่ของการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ
----------หน่วยบัญชีต้นทุนเป็นหน่วยงานย่อยซึ่งขึ้นตรงต่อ ผู้บริหารสูงสุดของฝ่ายบัญชีที่เรียกว่า “ผู้อำนวยการบัญชี (Controller)” โดย ผู้อำนวยการบัญชีนี้จะมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบัญชีอื่นๆ ด้วย อันได้แก่ การบัญชีทั่วไป การบัญชีเงินเดือนและค่าแรง หรือหน่วยงานงบประมาณ เป็นต้น หน้าที่หลักของหน่วยบัญชีต้นทุนส่วนใหญ่ ได้แก่ การเก็บรวบรวม สะสม บันทำ และรายงานต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นภายในกิจการ หรือในบางกิจการหน้าที่ของหน่วยบัญชีต้นทุนอาจรวมไปถึงการวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจ ด้วย ฝ่ายบัญชีต้นทุนไม่มีหน้าที่โดยตรงในการวางแผน ควบคุม หรือตัดสินใจ เป็นแต่เพียงเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมช่วยชี้แนะแนวทางตามข้อมูลที่วิเคราะห์ได้
----------ความสัมพันธ์ของการบัญชีต้นทุนกับหน่วยงานของรัฐ
----------การบัญชีต้นทุนจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็น กรมสรรพากร ในเรื่องของการคำนวณภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทรวงพาณิชย์ ในด้านการตีราคาสินค้าคงเหลือ การกำหนดราคาสินค้าและค่าขนส่ง หรือแม้กระทั่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของการกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
----------ขอบเขตของการบัญชีต้นทุน
----------เมื่อกล่าวถึงการบัญชีเกี่ยวกับต้นทุน บุคคลส่วนใหญ่มักจะคำนึงถึงการดำเนินงานที่เป็นธุรกิจผลิตกรรมอย่างเดียว และพร้อมกันนั้นมักจะครอบคลุมไปถึงการวัดมูลค่าของค่าใช้จ่ายที่เป็นหน่วยเงินตรา แต่การบัญชีต้นทุนมีขอบเขตกว้างกว่า เพราะไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ
-
ต้นทุน หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่สามารถวัดเป็นจำนวนเงินได้ ซึ่งกิจการสูญเสีย หรือเสียสละไป เพื่อแลกกับการได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกลับมา ในที่นี้อาจหมายถึง สินค้าหรือบริการต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกิจการ
----------จากความหมายข้างต้น “ต้นทุน” หมายถึง ทรัพยากรที่วัดเป็นจำนวนเงินได้ ซึ่งอาจหมายถึง เวลา คน หรืออื่นๆ ที่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้
----------ในการแสดงหรือรับรู้มูลค่า “ต้นทุน” ที่กิจการสูญเสียหรือเสียสละไป กิจการจะต้องรับรู้ใน 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
--------------------หากกิจการยังมิได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ได้รับกลับมา สินทรัพย์
--------------------เมื่อได้ใช้ประโยชน์แล้ว หรือสิ่งที่ได้รับไม่เกิดประโยชน์ ค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างที่ 1 เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 46 บริษัท ก จ่ายซื้อคอมพิวเตอร์ 1 ชุด ราคา 20,000 บาท คาดว่าจะมีอายุการใช้งาน 4 ปี ไม่มีมูลค่าซาก กิจการคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง
วิธีปฏิบัติ
----------ณ วันที่ 1 ม.ค. 46 (วันซื้อ) บริษัท ก จะต้องรับรู้คอมพิวเตอร์จำนวน 20,000 บาท ไว้เป็นสินทรัพย์ โดยอาจ บันทึกไว้ในบัญชี เครื่องใช้สำนักงาน หรืออื่นๆ ก็ได้
แต่ ในวันที่ 1 ม.ค. 47 (ปีถัดมา) บริษัท ก ได้มีการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์นั้นไปแล้ว 1 ปี บริษัท ก จึงต้องรับรู้มูลค่าส่วนนั้น เป็น ค่าใช้จ่าย ในรูปของ ค่าเสื่อมราคา
ค่าเสื่อมราคา = 20,000 / 4 = 5,000 บาท/ปี
ดังนั้น ณ วันที่ 1 ม.ค. 47 บริษัท ก ต้องรับรู้มูลค่าของคอมพิวเตอร์เป็นสินทรัพย์ในงบดุล เพียง 15,000 บาทเท่านั้น และตัดส่วนที่ใช้ประโยชน์ไปแล้ว 5,000 บาท ไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
----------จากความหมายของคำว่าต้นทุน จะเห็นได้ว่าตีความได้หลากหลายแง่มุมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้ นอกจากนั้นแล้ว ในส่วนของการจำแนกประเภทต้นทุนก็เช่นกัน
ประเภทของต้นทุน
----------ต้นทุนมีมากมายหลากหลายชนิด แต่ละชนิดให้ความหมายที่แตกต่างกัน ตามแต่วัตถุประสงค์การนำไปใช้ ความเข้าใจแนวคิดและการจัดแบ่งประเภทต้นทุน จะช่วยให้กิจการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามแต่ละลักษณะ และวัตถุประสงค์การนำไปใช้สามารถสรุปได้ดังนี้
1. จำแนกตามหน้าที่ทางการผลิต และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
----------1.1 ต้นทุนการผลิต (Manufacturing cost)
----------หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตสินค้า ซึ่งประกอบไปด้วย
--------------------1. วัตถุดิบ (Materials) หมายถึง วัตถุหรือส่วนประกอบที่กิจการนำมาใช้ในการแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น วัตถุดิบจึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
- วัตถุดิบทางตรง (Direct material) ซึ่งหมายถึง วัตถุดิบหลัก หรือวัตถุดิบซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้า และสามารถคิดคำนวณเข้าเป็นมูลค่าของสินค้าโดยตรง ได้โดยง่าย
- วัตถุดิบทางอ้อม (Indirect material) หมายถึง วัตถุดิบซึ่งเป็นเพียงส่วนประกอบเล็กๆ น้อย ๆ หรือ เป็นส่วนประกอบหลัก แต่คิดคำนวณมูลค่าเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าได้ยาก ในทางบัญชี ถือเป็นค่าใช้จ่ายการผลิต (3)
         2. ค่าแรงงาน (Labor) หมายถึง ค่าจ้างหรือผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือคนงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า โดยปกติแล้วค่าแรงงานจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่
- ค่าแรงงานทางตรง (Direct labor) หมายถึง ค่าแรงต่างๆ ที่จ่ายให้แก่คนงานหรือลูกจ้างที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าโดยตรง รวมไปถึงค่าแรงนั้นจะต้องสามารถคิดคำนวณเข้าเป็นมูลค่าของสินค้าได้โดยง่าย อีกด้วย
- ค่าแรงงานทางอ้อม (Indirect labor) หมายถึง เงินเดือนหรือค่าแรงซึ่งจ่ายให้กับคนงานหรือลูกจ้างซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการผลิตสินค้าหรือเกี่ยวข้องโดยตรง แต่คิดคำนวณมูลค่าเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าได้ยาก ถือเป็นค่าใช้จ่ายการผลิต (3) 
         3. ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing overhead) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้า นอกจากวัตถุดิบทางตรงและค่าแรงทางตรง ตัวอย่างเช่น
----------1.2 ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต (Non - manufacturing cost)
----------หรือ อาจเรียกว่าต้นทุนแผนกบริการ (cost of service department) หรือต้นทุนทางการบริหาร หมายถึง ต้นทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแผนกสนับสนุนการผลิต คือ แผนกที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในการผลิตโดยตรง แต่มีหน้าที่สนับสนุนให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แผนกบุคคล แผนกคอมพิวเตอร์ แผนกทำความสะอาด เป็นต้น

2. จำแนกตามความสำคัญและลักษณะของต้นทุนการผลิต
----------การจำแนกตามลักษณะนี้ มีความคล้ายคลึงกับประเภทแรก แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมมากกว่า เพื่อการคำนวณ โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
----------2.1 ต้นทุนขั้นต้น (Prime cost) หมายถึง ต้นทุนรวมระหว่างวัตถุดิบและค่าแรงทางตรง โดยปกติ ต้นทุนขั้นต้นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการผลิต รวมทั้งเป็นต้นทุนที่มีจำนวนมากเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบันธุรกิจบางแห่งมีการใช้เครื่องจักรมากขึ้น ทำให้ต้นทุนค่าแรงทางตรงลดลง ในลักษณะเช่นนี้ ต้นทุนขั้นต้นจะมีลักษณะลดลงเมื่อเทียบกับต้นทุนแปรสภาพ
----------2.2 ต้นทุนแปรสภาพ (Conversion cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปแบบจากวัตถุดิบทางตรงให้กลายสภาพเป็น สินค้าสำเร็จรูป ต้นทุนแปรสภาพจะประกอบด้วยค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต จากที่กล่าวแล้ว เมื่อกิจการมีการลงทุนในเครื่องจักรมากขึ้น ค่าเสื่อมราคา ค่าซ่อมบำรุง ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายการผลิต ก็จะมีจำนวนมากตามไปด้วย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าในธุรกิจที่มีการใช้เทคโนโลยีสูงหรือลงทุนสูงในส่วนของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ความสำคัญในส่วนของต้นทุนแปรสภาพก็จะมากขึ้น ตามไปด้วย
3. จำแนกตามความสัมพันธ์กับระดับกิจกรรม
----------การจำแนกตามความสัมพันธ์กับระดับกิจกรรมนี้ บางครั้งเรียกว่า การจำแนกตามพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมี่ลักษณะสำคัญ คือ เป็นการวิเคราะห์จำนวนของต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต โดยสามารถจำแนกได้ 3 ชนิด คือ
----------3.1 ต้นทุนผันแปร (Variable cost) หมายถึง ต้นทุน ซึ่งมียอดรวมเปลี่ยนแปลงไปตามสัดส่วนของปริมาณการผลิตหรือระดับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ในขณะที่ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่เท่ากัน ทุกๆ หน่วย เช่น ค่าเชื้อเพลิง ค่าแรงงาน ยิ่งผลิตมาก ต้นทุนก็จะมากตามไปด้วย
----------3.2 ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) หมายถึง ต้นทุน ซึ่งมียอดรวมคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต หรือระดับกิจกรรม แต่ยอดต่อหน่วยของต้นทุนชนิดนี้ จะเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณผลิต คือ ยิ่งผลิตมาก ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยก็ยิ่งลดลง เช่น ค่าเช่า ยิ่งปริมาณการผลิตสินค้ามาก ค่าเช่าต่อหน่วย ก็ยิ่งลดลง เป็นต้น
----------3.3 ต้นทุนผสม (Mixed cost) หมายถึง ต้นทุนที่จะมีต้นทุนส่วนหนึ่งคงที่อยู่ในทุกระดับกิจกรรม และมีต้นทุนอีกส่วนหนึ่ง แปรไปตามระดับกิจกรรม เช่น ค่าโทรศัพท์ ซึ่งมีค่าคงที่ต่อเดือน 100 บาท และส่วนของผันแปร 3 บาท/ครั้งของการโทร เป็นต้น
4. จำแนกตามความสัมพันธ์กับหน่วยต้นทุน
----------การจำแนกตามความสัมพันธ์กับหน่วยต้นทุน เป็นการจำแนกโดยพิจารณาตามความสามารถในการระบุที่มาของต้นทุนได้ว่า เป็นต้นทุนของงาน แผนก ผลิตภัณฑ์ หรือหน้าที่ใด โดยสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท
----------4.1 ต้นทุนทางตรง (Direct cost) หมายถึง ต้นทุนที่สามารถระบุได้ว่าเป็นต้นทุนของหน่วยงาน ของงาน ผลิตภัณฑ์ หรือแผนกใด เช่น ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรแผนกประกอบ ก็เป็นต้นทุนทางตรงของแผนกประกอบ หรือ เงินเดือนผู้ควบคุมการผลิตสินค้า ก ก็เป็นต้นทุนทางตรงของสินค้า ก เป็นต้น
----------4.2 ต้นทุนทางอ้อม (Indirect cost) หมายถึง ต้นทุนร่วม (common cost) ที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากหน่วยต้นทุนใด ดังนั้น กิจการจึงต้องใช้เทคนิคในการปันส่วน(allocation techniques) ต้นทุนดังกล่าว ไปยังแผนกที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือนของผู้จัดการโรงงาน แม่บ้านทำความสะอาด หรือ ยามรักษาความปลอดภัยของโรงงาน ซึ่งใช้ในการผลิตสินค้ามากกว่า 2 ชนิด จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเงินเดือนดังกล่าวเป็นของสินค้าใด เท่าไหร่ ต้องใช้การปันส่วน(แบ่ง)ให้กับสินค้าแต่ละชนิด
5. จำแนกตามงวดเวลาที่ก่อประโยชน์
----------เป็นการจำแนกโดยพิจารณาตามหลักการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนบางชนิดจะถูกรับรู้เป็นสินทรัพย์ เพราะยังไม่ก่อประโยชน์ให้กับกิจการ แต่เมื่อก่อประโยชน์แล้ว(เกิดรายได้) จะถูกตัดไปเป็นค่าใช้จ่าย การจำแนกต้นทุนในลักษณะนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำงบกำไรการเงินของกิจการ สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
----------5.1 ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product cost) ต้นทุนซึ่งกิจการจ่ายไปแต่ไม่เกิดประโยชน์ในทันที และจะถูกสะสมเก็บรวบรวม ไว้ในตัวสินค้า ซึ่งต้องบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ของกิจการ จนกว่าสินค้านั้น ๆ จะถูกขายออกไป ตัวอย่างเช่น วัตถุดิบ ค่าแรงคนงาน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จ่ายเพื่อการผลิตสินค้า เป็นต้น
----------5.2 ต้นทุนงวดเวลา (Period cost) ต้นทุนซึ่งกิจการจ่ายไป และเกิดประโยชน์ในงวดบัญชีนั้น ๆ ทันที ดังนั้น ต้นทุนประเภทนี้ จึงถูกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายของงวดนั้น ๆ ไป โดยส่วนมากหมายถึง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เช่น เงินเดือนพนักงานฝ่ายบุคคล ค่าวัสดุสำนักงานใช้ไป เงินเดือนพนักงานขาย เป็นต้น
6. จำแนกตามความสัมพันธ์กับเวลา
----------1.1 ต้นที่ในอดีต (Historical cost) หมายถึง ราคาทุน หรือมูลค่าที่กิจการจ่ายไปจริงตามหลักฐานที่ปรากฏ แต่ต้นทุนนี้ ผู้บริหารมักไม่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจมากนัก เพราะถือเป็นการจ่ายเงินไปในอดีต มูลค่าของเงินแตกต่างจากปัจจุบัน อาจเนื่องมาจาก ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย หรือความเจริญทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
----------1.2 ต้นทุนทดแทน (Replacement cost) หมายถึง ราคา หรือมูลค่าตลาดในปัจจุบันของสินทรัพย์ชนิดนั้นๆ
----------1.3 ต้นทุนในอนาคต (Future cost) หมายถึง ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต จากการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งของผู้บริหาร ซึ่งอาจได้จากการประมาณการณ์ กล่าวคือ ต้นทุนในอนาคตนี้ จะเกิด หรือไม่เกิดขึ้นอยู่ที่การตัดสินใจของผู้บริหาร และในขณะเดียวกันผู้บริหารก็ต้องพิจารณาจากต้นทุนนี้เช่นกัน ว่าควรจะตัดสินใจอย่างไรให้เกิดต้นทุนต่ำที่สุด ดังนั้น กิจการจึงควรระมัดระวังและพิจารณาอย่างรอบคอบในการประมาณต้นทุนประเภทนี้ เช่น บริษัท ข กำลังพิจารณาเปลี่ยนเครื่องจักร และมีผู้มาเสนอขายหลายราย ตลอดจนมีบริษัทอื่นๆ ยื่นข้อเสนอให้เช่าเครื่องจักรดังกล่าวด้วย ดังนั้น ฝ่ายบัญชีต้องทำการประมาณการณ์ ต้นทุนในอนาคตว่า ถ้าซื้อจากผู้ขายรายที่ 1 2 หรือ 3 ต้นทุนในอนาคตจะเป็นเท่าใด (ซึ่งอาจหมายถึง ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น) หรือควรจะเช่าเครื่องจักรดี
7. จำแนกตามความรับผิดชอบ
----------7.1 ต้นทุนที่ควบคุมได้ (Controllable cost) หมายถึง ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายที่สามารถระบุหรือกำหนดได้ว่า หน่วยงานใด หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อต้นทุนนั้น ๆ มีอำนาจสั่งการ สามารถควบคุม ให้ต้นทุนนั้นๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
----------7.2 ต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable cost) หมายถึง ต้นทุน หรือค่าใช้จ่าย ที่ไม่ได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ ที่หน่วยงานหรือผู้บริหารในระดับนั้นๆ จะควบคุมไว้ได้ คือ ไม่สามารถจัดการ กำหนด หรือสั่งการให้ต้นทุนนั้นๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
8. จำแนกตามการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อตัดสินใจ
----------8.1 ต้นทุนจม (Sunk cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจในอดีต ไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในปัจจุบัน ถือเป็นต้นทุนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าจะมีการตัดสินใจอย่างไรก็ตาม เช่น ค่าเช่าจากสัญญาเช่าระยะยาว ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ เป็นต้น
----------8.2 ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ (Avoidable cost) หมายถึง ต้นทุนที่สามารถประหยัดได้ จากการตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในอนาคต ดังนั้น จึงมีบทบาทมากต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
----------8.3 ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) หมายถึง ผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่กิจการต้องสูญเสียไป เพราะไม่เลือกทางเลือกนั้น เช่น นาย ก. ต้องเสียโอกาสในการได้รับค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท เพราะนาย ก. เลือกที่จะนำร้านนั้นไปประกอบกิจการร้านอาหารแทนการให้เช่า เป็นต้น
----------8.4 ต้นทุนส่วนต่าง (Differential cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง(อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง)ไปจากการตัดสินใจเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยปกติมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติแบบเดิม มาเป็นการปฏิบัติแบบใหม่
----------8.5 ต้นทุนส่วนเพิ่มต่อหน่วย (Marginal cost) หมายถึง ต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อการผลิตเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย ซึ่งเป็นต้นทุนที่เป็นแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี